Mandala Analytics เครื่องมือที่น่าสนใจของ Digital Marketing ในโลก Big Data ตอนที่ 2

Vivat Boonchun
3 min readDec 8, 2020

--

หลังจากครั้งที่แล้ว เราทราบไปแล้วว่า Mandala Analytics คืออะไร มี Feature อะไรบ้าง และเราเห็นภาพรวมของข้อมูล กันไปกันแล้วนะครับ ตอนที่ 2 จะพาทุกท่านไปทำความรู้จัก Mandala Analytics ให้มากยิ่งขึ้นไปอีกนะครับ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาไปมากกว่านี้ ผมจะพาไปดู Feature อื่นๆ ดังนี้นะครับ

หัวข้อที่ 2 Keywords กับ Hashtags ที่เกี่ยวกับยี่ห้อโทรศัพท์มือถือ

ผมว่า Feature นี้ของ Mandala Analytics เป็นประโยชน์มากครับ ทั้งในการติดตามแบรนด์ของเรา รวมไปถึงการติดตามความเคลื่อนไหวของแบรนด์คู่แข่งว่า มีคนให้ความสนใจมากน้อยเพียงใด จากตัวอย่างจะเห็นว่า การเปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่มีผลต่อการ mention ต่อยี่ห้อโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างมาก ยิ่งเห็นได้ชัดคือ การเปิดตัวมือถือ iPhone 12 ในวันที่ 14 ตุลาคม (เวลาประเทศไทย) และวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่ราคาจำหน่าย iPhone 12 ในประเทศไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ Mandala Analytics ยังแบ่งร้อยละของ ยี่ห้อโทรศัพท์มือถือออกมาให้เราเห็นว่ามีการ Mention เท่าไหร่

รวมถึง word cloud ว่า คนให้ความสำคัญกับอะไรที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผลที่ออกมาก็คงไม่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่ เพราะคนไทยคงพูดถึง ราคา iPhone ว่าหากจำหน่ายในประเทศไทยแล้วจะมีจำนวนเท่าไหร่

แต่เมื่อเรามาดู Hashtag แล้วพบว่า กลับเป็นยี่ห้อโทรศัพท์มือถือเจ้าอื่นในตลาด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจำนวนยอดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

หัวข้อที่ 3 Top Mention ที่มีการกล่าวถึงยี่ห้อโทรศัพท์มือถือ

Mandala Analytics ยังทำให้เรารู้สึกประหลาดใจขึ้นไปอีก ลองจินตนาการว่า เรามีงบประมาณในการทำการตลาดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เงินที่เราลงไปจะคุ้มค่าต่อการรับรู้แบรนด์ของเราที่ลงไปแค่ไหน แล้ว Influencer ที่เราเลือก เข้าถึงกลุ่มลูกค้าของเรามากแค่ไหน Feature นี้จะทำการดึงข้อมูลมาแสดงให้เราดูว่า Top 10 ของแต่เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นอย่างไร จากข้อมูลที่ผมนำมาให้ดูจะเห็นได้ว่า Oppo ทำการตลาดได้ดีกับ Facebook และ YouTube ส่วน iPhone เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดีผ่าน Twitter ในขณะที่ Vivo ใช้ความโด่งดังของดาราวัยรุ่นผ่าน Instagram เข้าถึงวัยรุ่นที่เป็นแฟนคลับได้เป็นจำนวนมาก

หัวข้อที่ 4 ความเคลื่อนไหวของข้อมูล Date และ Time

เมื่อเรารู้แล้วช่องทางไหนจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของเราได้มากที่สุด วันและเวลาก็นับว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้เราเข้าถึงลูกค้าของเราเป็นอย่างมาก เช่น หากเราต้องการขายเจลล้างหน้าชาย กลุ่มลูกค้าชายจะใช้เวลาอยู่กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ช่วงเวลาและวันไหน เราก็ใช้ข้อมูลนี้ให้เป็นประโยชน์ในการลงโพสต์ในช่วงเวลานั้น กลุ่มลูกค้าชายก็จะเข้าถึงเจลล้างหน้าของเราได้มากที่สุด เปรียบเทียบให้เห็นภาพ หากเรารู้ว่า “ปลาที่เราจะจับ ชุกชุมจุดไหน เวลากี่โมง วันอะไร” เราก็สามารถเตรียมเครื่องมือไปจับปลาได้จำนวนมาก

รูปแรก คนไทยมีการ Mention ที่ถี่มากในช่วงเวลา เที่ยงคืน 10 โมงเช้าถึงเที่ยง และ ห้าโมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม ทำให้เราพอจะคาดคะเนว่า คนไทยจะมีการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ก่อนนอน และอีกครั้งก่อนรับประทานอาหารเที่ยง และเมื่อเลิกงาน เลิกเรียน หรืออาจจะเป็นเวลารับประทานอาหารเย็น
รูปต่อมาคือ วันที่มีการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดคือ วันเสาร์ อาทิตย์ จันทร์ และ อังคาร โดยช่วงเวลาก็สอดคล้องกับรูปแรก
รูปที่ 3–4 จะมีแสดง engagement ที่ 10 โมง และบ่ายสอง ถึง ห้าโมงเย็น ส่วนวันที่มีความถี่สูงคือ วันเสาร์
รูปที่ 5 แสดงความรู้สึกที่มี ยี่ห้อโทรศัพท์เชิงบวก จะอยู่ในวันเสาร์ และอาทิตย์ ขณะที่รูปขวามือ แสดงข้อมูลเพศชาย จะแสดงความรู้สึกต่อการรับรู้เรื่องนี้ในวันเสาร์และอาทิตย์ ในช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึงเที่ยง ก่อนที่จะใช้เวลาค่อนข้างนานในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ตั้งแต่ ห้าโมงเย็นไปจนถึง 4 ทุ่มเลยทีเดียว
รูปที่ 6 ซ้ายมือ แสดงข้อมูลความรู้สึกกลางๆ อยู่ในวันอาทิตย์ และ จันทร์ ในช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึงเที่ยง และ บ่ายสองถึงหนึ่งทุ่ม ขวามือแสดงข้อมูลเพศหญิง มักจะใช้เวลาอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์วันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนช่วงเวลาจะค่อนข้างยาวนานกว่าเพศชายคือ ช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึงเที่ยง และ บ่ายสองไปจนถึง 5 ทุ่มเลยทีเดียว
รูปที่ 7 ซ้ายมือ แสดงข้อมูลความรู้สึกเชิงลบในวันพุธและอาทิตย์ ส่วนเวลาเป็นไปตามข้อมูลด้านบน ขณะที่ ขวามือแสดงข้อมูลผู้ใช้งานที่ไม่สามารถระบุเพศได้ ความถี่ในวันเสาร์และอาทิตย์ ช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึงเที่ยง

ตอนที่ 2 ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวเราค่อยมาต่อกันตอนที่ 3 ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นตอนจบของเรื่อง Mandala Analytics แล้วนะครับ

ส่วนตอนนี้ Mandala Analytics จะแสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำ content เชิงการตลาดที่จะต้องใส่ Keywords กับ Hashtags ที่กำลังเป็นกระแส หรือ การเขียนเนื้อหาที่สามารถค้นหาได้ง่าย ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาข้อมูลมาสู่เนื้อหาของเราได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้น Top Mention จะทำให้เราสามารถทำ Media Planning ในแต่ละเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราได้ตรงจุด ไม่เสียเวลา รวมไปถึงการมีข้อมูลเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจมากกว่าการใช้อารมณ์พาไป เหนือสิ่งอื่นใดคือการที่เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของข้อมูลในวัน (Date) และเวลา (Time) ที่เราต้องการทราบได้ ว่า เพศชายหรือหญิงใช้เวลาอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ใด ในวันและเวลาใดบ้าง การยิ่งโฆษณาที่ตรงถูกทั้งวันและเวลาที่เหมาะสม ย่อมทำให้เราเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น

แล้วพบกันใหม่ ในตอนหน้านะครับ
จาก
เด็กที่เกลียดคณิตศาสตร์ในวัยเด็ก แต่กลับมาตกหลุมรักในวัยผู้ใหญ่
วิวรรธน์

--

--

Vivat Boonchun
Vivat Boonchun

Written by Vivat Boonchun

เด็กที่เกลียดคณิตศาสตร์ในวัยเด็ก แต่กลับมาตกหลุมรักในวัยผู้ใหญ่